DESIGN
“ ความหลากหลายในการเสนอผลงานนวัฒกรรมการออกแบบ ทำให้รูปแบบการทำงานของ FAB & FORM มีมิติและมุมมองที่ตอบโจทย์ จินตนาการของผู้ออกแบบเข้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด ”
ALGORITHMIC DESIGNS
การออกแบบด้วยระบบการสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้การปรับแต่งและเพิ่มองค์ประกอบในทางปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเวลาและทรัพยากรที่น้อยกว่า เหมาะสำหรับงาน Facade ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของ FAB & FORM กำลังได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้
KINETIC DESIGNS
การออกแบบด้วยการใช้เทคนิคของพลังงานภายนอกมากระทำกับอุปกรณ์ที่ออกแบบ ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปทรงที่แตกต่างไปจากเดิม สร้างความน่าสนใจให้กับผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น การปรับรูปแบบตามความเข้มของแสง ตามแรงลม เหมาะกับการทำหน้ากากอาคารสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดพลังงานในอาคารไปพร้อมๆ กับการใช้ประโยชน์จากพลังงานภายนอกอาคาร
MOIRE EFFECTS
การออกแบบด้วยการใช้มิติของการซ้อนทับเพื่อสร้างมิติของการมองใหม่ที่แตกต่างไปจากลวดลายที่แยกอิสระบนวัสดุเพียงชิ้นเดียว การซ้อนทับนี้สร้างปรากฏการภาพที่ติดตามสายตาไปในทุกมุมมอง เป็นการเล่นกับผู้ชมได้เป็นอย่างดี เหมาะกับงานผนังอาคาร Facade และงานตกแต่ง backdrop เพื่อจัดเปิดตัวสินค้าเป็นต้น
PERFORATED DESIGNS
การออกแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดด้านการประยุกต์ใช้กับวัสดุชิ้นเล็กที่ต้องการสร้างลายฉลุ หรือการผสมผสานไปกับการขึ้นรูปที่สร้างสีสรรค์และรูปแบบการนำเสนอที่ไม่เหมือนใครอย่างโดดเด่น เหมาะกับ งานผนัง ฝ้า ราวกันตก ราวบันได รั้วบ้าน รวมถึงงานประติมากรรมต่างๆ อาทิเช่น งาน Outdoor ในสวน เป็นต้น
PARAMETRIC DESIGNS
การออกแบบไร้รูปทรงหรือแบบ Free Form ภายใต้การเชื่อมโยงความสอดคล้องของลายเส้นให้สอดคล้องในพื้นผิวการนำเสนอ เหมาะกับการทำ Facade หุ้มอาคารและงานพื้นผิวทั่วไป อาทิเช่น รั้ว ราวกันตก ผนังห้อง และอื่นๆ
การเลือกวัสดุในการทำ Facade
MATERIAL
คัดสรรวัสดุคุณภาพหลากหลายประเภทมาเพื่อสร้างผลงาน Fabrication Design อาทิเช่น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลือง ทองแดง หิน กระจก กระเบื้อง พลาสวูด อะคริลิค พลาสติกวิศวกรรมทุกชนิด รวมถึงวัสดุผิวเรียบชนิดอื่นๆ ที่เน้นความทนทานด้านการใช้งานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุต่างๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมอันได้แก่ Tensile, Yield Strength, Elasticity ที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการใช้งานที่สามารถคัดเลือกให้สอดคล้องกับนวัตกรรมการออกแบบได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมวัสดุ
Share This :